วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ฉันท์

ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำ ที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น ไห้เกิดความไพเราะ ซาบซึ้ง โดยกำหนดคณะ ครุลหุ และสัมผัสไว้ เป็นมาตรฐาน ฉันท์นี้ไทยได้ถ่ายแบบมาจากอินเดีย ของเดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต โดยเฉพาะในภาษาบาลี เขามีตำราที่กล่าวถึง วิธีแต่งฉันท์ไว้ เป็นแบบฉบับ เรียกชื่อว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" แล้วต่อมาไทยเราได้จำลองแบบ มาแต่งในภาษาไทย โดยเพิ่มเติม บังคับสัมผัสขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ ตามแบบนิยมของไทย ซึ่งในภาษาเดิมของเขา หามีไม่ ฉันท์ในภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฉันท์วรรณพฤติ กับฉันท์มาตราพฤติ ฉันท์ใด กำหนดด้วยตัวอักษร คือ วางคณะ และกำหนดเสียงหนักเบา ที่เรียกว่า ครุลหุ เป็นสำคัญ ฉันท์นั้นเรียกว่า วรรณพฤติ ฉันท์ใด กำหนดด้วยมาตรา คือ วางจังหวะสั้นยาว ของมาตราเสียง เป็นสำคัญ นับคำลหุเป็น 1 มาตรา คำครุ นับเป็น 2 มาตรา ไม่กำหนดตัวอักษร เหมือนอย่างวรรณพฤติ ฉันท์นั้นเรียกว่า มาตราพฤติ ฉันท์มีชื่อต่างๆตามที่ปรากฏในคัมภีร์วุตโตทัยมีถึง 108 ฉันท์ แต่ไทยเราดัดแปลง เอามาใช้ไม่หมด เลือกเอามาแต่เฉพาะที่เห็นว่าไพเราะ มีทำนองอ่านสละสลวย และเหมาะแก่การที่จะบรรจุคำในภาษาไทยได้ดี เท่านั้น ฉันท์ที่นิยมแต่งในภาษาไทย เป็นฉันท์วรรณพฤติเป็นพื้น ที่เป็นมาตราพฤติ ไม่ใคร่จะนิยมแต่ง เพราะจังหวะ และทำนองที่อ่านในภาษาไทย ไม่สู้จะไพเราะ เหมือนฉันท์วรรณพฤติ แม้ฉันท์วรรณพฤติ ที่ท่านแปลงมาเป็นแบบในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่นิยมแต่งกันทั้งหมด เท่าที่สังเกตดู ในคำฉันท์เก่าๆ มักนิยมแต่งกันอยู่เพียง 6 ฉันท์เท่านั้น คือ - อินทรวิเชียรฉันท์ - โตฎกฉันท์ - วสันตดิลกฉันท์ - มาลินีฉันท์ - สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ - สัทธราฉันท์ แต่ท่านมักแต่งกาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ปนไปกับฉันท์ด้วย และคงเรียกว่า คำฉันท์เหมือนกัน เหตุที่โบราณนิยมแต่งเฉพาะ 6 ฉันท์ คงเป็นเพราะฉันท์ทั้ง 6 นั้น สามารถจะแต่งเป็นภาษาไทยได้ไพเราะกว่าฉันท์อื่นๆ และท่านมักนิยมเลือกฉันท์ ให้เหมาะกับบทของท้องเรื่อง เป็นตอนๆ เช่น บทไหว้ครู นิยมใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือ สัทธราฉันท์ บทชมหรือบทคร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือ วสันตดิลกฉันท์ บทสำแดงอิทธิฤทธิ์หรืออัศจรรย์ นิยมใช้ โตฎกฉันท์ (แต่คำฉันท์เก่าๆไม่ใคร่นิยมใช้ โตฎกฉันท์) บทดำเนินความยาวๆ ในท้องเรื่อง นิยมใช้ กาพย์ฉบัง หรือ กาพย์สุรางคนางค์ ในปัจจุบันนี้นิยมแต่งภุชงคประยาตฉันท์ เพิ่มขึ้นอีกฉันหนึ่ง และมักใช้แต่ง ในตอนพรรณนาโวหารหรือ ข้อความที่น่าตื่นเต้น การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่บ่งไว้ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่บัดนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้องเป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะ ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก กา ก็ดี ใช้เป็นลหุได้ แต่บัดนี้คำที่ประสมด้วยสระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่า เป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย ฉันท์ทั้ง 25 ชนิด มีชื่อ และลักษณะต่างๆ กัน ดังจะได้อธิบาย ต่อไปนี้ 1.จิตรปทาฉันท์ 8 2. วิชชุมาลาฉันท์ 8 3. มาณวกฉันท์ 8 4. ปมาณิกฉันท์ 8 5. อุปัฏฐิตาฉันท์ 11 6. อินทรวิเชียรฉันท์ 11 7. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 8. อุปชาติฉันท์ 11 9. สาลินีฉันท์ 11 10. อาขยานิกาฉันท์ 11 11. วังสัฏฐฉันท์ 12 12. อินทวงสฉันท์ 12 13. โตฎกฉันท์ 12 14. ภุชงคประยาตฉันท์ 12 15. กมลฉันท์ 12 16. วสันตดิลกฉันท์ 14 17. มาลินีฉันท์ 15 18. ประภัททกฉันท์ 15 19. วาณินีฉันท์ 16 20. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18 21. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ 19 22. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 23. อีทิสฉันท์ 20 24. สัทธราฉันท์ 21 1. จิตรปทาฉันท์ ตัวอย่าง: 2. วิชชุมาลาฉันท์ 8 ตัวอย่าง: 3. มาณวกฉันท์ 8 ตัวอย่าง 4.ปมาณิกฉันท์ 8 ตัวอย่าง: 5. อุปัฏฐิตาฉันท์ 11 ตัวอย่าง: 6. อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ตัวอย่าง: 7. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 ตัวอย่าง: 8. อุปชาติฉันท์ 11 ตัวอย่าง 9. สาลินีฉันท์ 11 ตัวอย่าง: 10. อาขยานิกาฉันท์ 11 ตัวอย่าง: 11. วังสัฏฐฉันท์ 12 ตัวอย่าง 12. อินทวงสฉันท์ 12 ตัวอย่าง: 13. โตฎกฉันท์ 12 ตัวอย่าง: 14. ภุชงคประยาตฉันท์ 12 ตัวอย่าง: 15. กมลฉันท์ 12 ตัวอย่าง: 16. วสันตดิลกฉันท์ 14 ตัวอย่าง: 17. มาลินีฉันท์ 15 ตัวอย่าง: 18. ประภัททกฉันท์ 15 ตัวอย่าง 19. วาณินีฉันท์ 16 ตัวอย่าง: 20. กุสุมิตลดาเวลลิตาฉันท์ 18 ตัวอย่าง: 21. เมฆวิปผุชชิตาฉันท์ 19 ตัวอย่าง 22. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 ตัวอย่าง: 23. อีทิสังฉันท์ 20 ตัวอย่าง: 24. สัทธราฉันท์ 21 ตัวอย่าง:

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

โคลง






โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ

โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ 
1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้

โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ

1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี

โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้

แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ 
1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี

ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง 
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ

1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย

คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ 
1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน

ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์

โคลงสุภาพ 
โคลง 2 สุภาพ 
แผน:


ตัวอย่าง:


โคลง 3 สุภาพ 
แผน:


ตัวอย่าง:
 


โคลง 4 สุภาพ 
แผน:


ตัวอย่าง:


ตัวอย่าง:


โคลง 4 ตรีพิธพรรณ 
แผน:


ตัวอย่าง:


โคลง 5 (โคลงมณฑกคติ) 
โคลง 5 (โคลงมณฑกคติ) เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ 5 คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้ และบอกไม่ได้ ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง:

แลมีค่ำมิ่วนน กินสาลีเปลือกปล้อน บมีผู้ต้อนแต่ง บรรณาฯ
เลือกผู้ยิ่งยศสา เปนราชาอคร้าว เรียกนามสมมตจ้าว จึ่งต้องท้าวเจ้าแผ่นดินฯ

-จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ-

โคลง 4 จัตวาทัณฑี 
แผน:


ตัวอย่าง:


โคลงกระทู้ 
1. กระทู้เดี่ยว หรือกระทู้คำเดียว หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำทั้งหมดอยู่ 4 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละคำ

ตัวอย่าง:


2.กระทู้สอง หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด 8 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 2 คำ

ตัวอย่าง:


3.กระทู้สาม หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด 12 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 3 คำ

ตัวอย่าง:


4.กระทู้สี่ หมายความว่า กระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด 16 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 4 คำ

ตัวอย่าง:


โคลงโบราณ 
โคลงวิชชุมาลี
แผน:


ตัวอย่าง:


โคลงมหาวิชชุมาลี 
แผน:


เหมือนกับวิชชุมาลี เป็นแต่เพิ่มคำในบาทสุดท้าย เข้าอีก 2 คำเท่านั้น

ตัวอย่าง:


โคลงจิตรลดา


ตัวอย่าง:


โคลงมหาจิตรลดา 
แผน:

เหมือนกับจิตรลดา แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง:


โคลงสินธุมาลี

ตัวอย่าง:


โคลงมหาสินธุมาลี 
แผน:

 เหมือนกับสินธุมาลี แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง:


โคลงนันททายี


ตัวอย่าง:


โคลงมหานันททายี 
แผน:

เหมือนนันททายี แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง: